109947

ความหมายของธุรกิจ การกระทำหรือกิจกรรมต่าง ๆ ของมนุษย์ที่ดำเนินงานเกี่ยวกับการผลิต

 

ความหมายของธุรกิจ
                ธุรกิจ  (Business)     หมายถึง    การกระทำหรือกิจกรรมต่าง ๆ ของมนุษย์ที่ดำเนินงานเกี่ยวกับการผลิต การจำหน่ายสินค้าและการให้บริการ  โดยมุ่งหวังผลกำไร (Profit)   ขณะเดียวกัน
ก็มีความเสี่ยงต่อการขาดทุน
หน้าที่ขั้นพื้นฐานของธุรกิจ  มีดังนี้
1.  จัดหาวัตถุดิบป้อนโรงงาน
2.  แปรสภาพวัตถุดิบให้เป็นผลิตภัณฑ์กึ่งสำเร็จรูป  หรือผลิตภัณฑ์สำเร็จรูป
3.  ทำหน้าที่ทางการตลาด  เช่น  การจัดจำหน่ายสินค้า  หรือบริการจากผู้ผลิตไปสู่คนกลาง หรือผู้บริโภคคนสุดท้าย
4.  ให้บริการแก่ลูกค้า
  ปัจจัยในการดำเนินธุรกิจ
โดยทั่วไปปัจจัยที่เป็นพื้นฐานในการดำเนินธุรกิจมีอยู่ 4 ประเภทหรือที่เรียกกันว่า 4M’s คือ
1.  คน  (Man)
2.  เงิน  (Money)
3.  วัสดุหรือวัตถุดิบ  (Material)
4.  วิธีปฏิบัติงาน  (Method)  /  การบริหารงาน (Management)

ความสำคัญของธุรกิจ
การประกอบธุรกิจแต่ละประเภทมีบุคคลหลายฝ่ายเข้ามาเกี่ยวข้อง  บุคคลเหล่านั้นล้วนแต่มีความจำเป็นที่จะต้องศึกษาธุรกิจด้วยเหตุผลแตกต่าง กัน  ดังต่อไปนี้
1.  เพื่อตัดสินใจในการเลือกอาชีพ
2.  เพื่อธุรกิจของตน
3.  เพื่อแก้ไขปัญหาสังคม

 ประโยชน์ของธุรกิจ
ธุรกิจมีประโยชน์ต่อประชาชน สังคม และประเทศชาติ ดังนี้
                1.  ทำให้เกิดกระบวนการผลิตสินค้าและบริการ
                เพื่อ ตอบสนองความต้องการของมนุษย์ ซึ่งมีความต้องการไม่มีที่สิ้นสุด เช่น เมื่อมีบ้านย่อมต้องการเฟอร์นิเจอร์  เครื่องปรับอากาศ  เครื่องอำนวยความสะดวกต่าง ๆ ภายในบ้าน เป็นต้น
                2.  ช่วยกระจายสินค้าจากผู้ผลิตไปสู่ผู้บริโภค
                องค์กร ธุรกิจเมื่อผลิตสินค้าแล้วย่อม ต้องการขายหรือจำหน่ายสินค้าออกสู่ผู้บริโภค จึงต้องมีธุรกิจอื่นมาทำหน้าที่กระจายสินค้าเหล่านั้น เช่น มีระบบคนกลาง ได้แก่ พ่อค้าส่ง พ่อค้าปลีก ตัวแทนจำหน่ายและนายหน้า  มีระบบการขนส่ง การคลังสินค้าเข้ามาเกี่ยวข้อง ฯลฯ
                3.  เกิดการจ้างงาน
                ธุรกิจต้องจ้างบุคคลเข้ามาทำงาน ทำให้ช่วยลดปัญหาการว่างงานและปัญหาทางสังคมด้วย
                4.  ช่วยให้ประชาชนมีมาตรฐานการครองชีพที่ดีขึ้น
                ประชาชน มีงานทำและมีรายได้จากองค์กร ธุรกิจ  ทำให้มีโอกาสได้เลือกซื้อสินค้าและบริการที่มีคุณภาพดีขึ้น เกิดมาตรฐานการครองชีพที่สูงขึ้นด้วย
                5.  สร้างรายได้ให้กับรัฐ
                การเสียภาษีและค่าธรรมเนียมต่าง ๆ ของธุรกิจให้กับรัฐบาล ทำให้รัฐบาลมีเงินไปพัฒนาประเทศในทุก ๆ ด้าน
                6.  เกิดความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี
                มี เครื่องจักรที่ทันสมัยในการผลิต สินค้า  มีเครื่องมือสื่อสารที่มีความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี เช่น โทรศัพท์มือถือ อินเตอร์เน็ต  เป็นต้น
                7.  ช่วยพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ
การผลิตสินค้าและบริการที่มีคุณภาพและมาตรฐานที่ดี  เป็นที่ยอมรับของผู้บริโภค สามารถนำออกไปจำหน่ายต่างประเทศ   ทำให้มีรายได้เข้าประเทศมากขึ้น   เศรษฐกิจของประเทศก็จะดีขึ้น

 

 

ประเภทของธุรกิจ

ธุรกิจแบ่งตามลักษณะของกิจกรรมที่กระทำได้ 8 ประเภท คือ
1.  ธุรกิจการเกษตร  (Agriculture)    เป็นธุรกิจพื้นฐานของคนไทยที่ยึดถือเป็นอาชีพมา
ช้านาน ได้แก่  การทำนา  ทำสวน  ทำไร่  การประมง  การเลี้ยงสัตว์ และการทำป่าไม้
2.  ธุรกิจเหมืองแร่   (Mineral)   เป็นธุรกิจที่เกี่ยวกับการขุดเจาะนำเอาทรัพยากรธรรมชาติต่าง ๆ  มาใช้  เช่น  ถ่านหิน ดีบุก น้ำมัน ปูนซีเมนต์  เป็นต้น
3.  ธุรกิจอุตสาหกรรม  (Manufacturing)     เป็นธุรกิจการผลิตและบริการทั่วไปทั้งอุตสาหกรรมขนาดย่อมและขนาดใหญ่  ซึ่งแบ่งได้ดังนี้
3.1  อุตสาหกรรมในครัวเรือน หรืออุตสาหกรรมขนาดย่อม  เป็นอุตสาหกรรม
ขนาดเล็ก ใช้แรงงานจากสมาชิกในครอบครัว วัสดุต่าง ๆ หาได้ในท้องถิ่น ผลิตภัณฑ์เป็นภูมิปัญญาในท้องถิ่น
3.2  อุตสาหกรรมโรงงาน  เป็นอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ที่มีการผลิตสินค้าจาก
โรงงานถาวร มีเครื่องจักรทันสมัย จ้างแรงงานจากบุคคลภายนอกและใช้เงินลงทุนจำนวนมา
4.  ธุรกิจก่อสร้าง   (Construction)  เป็นธุรกิจที่นำเอาผลผลิตของอุตสาหกรรมมาใช้  เช่น  การสร้างอาคารที่อยู่อาศัย  ถนน  สะพาน  เขื่อน  ทางระบายน้ำ  เป็นต้น
5.  ธุรกิจการพาณิชย์  (Commercial)  เป็นธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการตลาด มีการกระจายสินค้าไปสู่ผู้บริโภค โดยอาศัยคนกลางในการดำเนินธุรกิจ  ได้แก่  พ่อค้าส่ง  พ่อค้าปลีก  นายหน้าและตัวแทนจำหน่าย
6.  ธุรกิจการเงิน   (Financial)     เป็น ธุรกิจที่ส่งเสริมให้ธุรกิจต่าง ๆ   มีความคล่องตัวมากยิ่งขึ้น   เพราะเป็นองค์กรที่ให้ความช่วยเหลือผู้ประกอบการด้านการเงินและการลงทุน   ได้แก่ ธนาคารพาณิชย์  ธนาคารออมสิน  ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้า  ฯลฯ
7.  ธุรกิจบริการ   (Services)    เป็นองค์กรที่ทำหน้าที่ผลิตการบริการ เพื่อตอบสนอง ความต้องการของผู้บริโภคในการอำนวยความสะดวกสบายให้แก่ผู้บริโภค   เช่น   บริการขนส่ง การสื่อสาร  ธุรกิจโรงแรม   การท่องเที่ยว  โรงพยาบาล  โรงภาพยนตร์  ภัตตาคาร  ร้านอาหาร
สถานบันเทิงต่าง ๆ  ร้านซักรีด  ร้านถ่ายรูป  สถานเสริมความงาม   กิจการหอพักและบ้านเช่า  ฯลฯ
8.  ธุรกิจอื่น ๆ   เป็น ธุรกิจที่ นอกเหนือไปจากธุรกิจดังกล่าวข้างต้น ได้แก่ ผู้ประกอบการอาชีพอิสระต่าง ๆ เช่น  แพทย์  ครู   เภสัชกร  วิศวกร  สถาปนิก  จิตรกร  ประติมากร  เป็นต้น

บทบาทของธุรกิจต่อสังคมและเศรษฐกิจของประเทศ

 

 

 1.  พัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน  (ผลิตและจำหน่ายสินค้าและบริการที่ดี)
2.  พัฒนาสังคมให้ก้าวหน้า  (คนมีงานทำ  มีสินค้าและบริการครบครัน)
3.  สร้างความมั่นคงให้กับเศรษฐกิจของประเทศ   (สร้างรายได้ให้ทั้งผู้ประกอบการและประชาชนทั่วไป)

ความรับผิดชอบของธุรกิจต่อสังคม 
1.  ความรับผิดชอบของธุรกิจต่อสังคมภายใน
1.1  ความรับผิดชอบต่อเจ้าของกิจการหรือผู้ถือหุ้น (ดำเนินงานอย่างมีประสิทธิภาพ มุ่งผลประโยชน์สูงสุดให้กับกิจการ จัดสรรผลกำไรในอัตราที่พึงพอใจ)
1.2  ความรับผิดชอบต่อผู้บริหาร  (ด้วยการจ่ายเงินเดือนและค่าตอบแทนในรูปสวัสดิการต่าง ๆ ที่เหมาะสม เพื่อเป็นแรงจูงใจและสร้างความมั่งคง ตลอดจนเป็นการกระตุ้นและสนับสนุนให้เกิดความเจริญก้าวหน้าในการทำงาน)
1.3  ความรับผิดชอบต่อพนักงานและลูกจ้างทุกคน  (จ่ายเงินเดือนและค่าจ้างในอัตราที่เหมาะสม และจัดสวัสดิการต่าง ๆ  เพื่อสร้างขวัญและกำลังใจ  มีความมั่นคงในการทำงาน และยังเป็นการสร้างความจงรักภักดีต่อองค์กรด้วย)
2.  ความรับผิดชอบของธุรกิจต่อสังคมภายนอก
2.1  ความรับผิดชอบต่อลูกค้า (ผลิตสินค้าและบริการที่มีคุณภาพ  บริการด้วย
ความรวดเร็ว ราคาเหมาะสม)
2.2  ความรับผิดชอบต่อเจ้าหนี้ (จ่ายดอกเบี้ย เงินต้นตรงตามเวลา มีความรับผิดชอบ)
2.3  ความรับผิดชอบต่อคู่แข่งขัน  (ไม่โจมตีคู่แข่งขัน ไม่ละเมิดลิขสิทธิ์)
2.4  ความรับผิดชอบต่อรัฐบาล   (เสียภาษีอากรอย่างถูกต้อง)
2.5  ความรับผิดชอบต่อสาธารณชน (มีส่วนร่วมในการสร้างสรรค์สังคมและ
อุทิศตนแก่สังคม)
2.6  ความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม  (หาแนวทางและมาตรการป้องกันและแก้ไขสิ่งแวดล้อมที่ดีเพื่อให้สังคมน่าอยู่ น่าอาศัย  เช่น  การสร้างบ่อบำบัดน้ำเสีย  การทิ้งและทำลายขยะอย่างถูกวิธี  เป็นต้น

 

Leave a Comment